POCKET-WIF-GDN-BLUE-DEC2020
ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) คืออะไร

ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบการจ้างงานคนต่างด้าวที่กำหนดไว้ในประเทศไทย เมื่อคนต่างด้าว
มีความประสงค์จะทำงานในประเทศไทย คนต่างด้าวจะต้องได้รับใบอนุญาตพำนักในประเทศไทยและใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ในประเทศไทย ท่านไม่สามารถทำงานในประเทศไทยได้หากมีเพียงใบอนุญาตพำนัก (วีซ่า) เท่านั้น ท่านต้องขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เสมอ หลังจากเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เป็นลำดับแรก
การยื่นขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) สามารถดำเนินการได้ ณ กระทรวงแรงงานซึ่งมีเขตอำนาจตามสถานที่ตั้งบริษัทที่ทำงานอยู่ หรือศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงานแบบ ONE STOP SERVICE
การขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) มิใช่เรื่องง่ายที่ใคร ๆ ก็สามารถทำงานถึงแม้ว่าจะมีบริษัทตั้งอยู่ในประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกใบอนุญาตทำงานให้โดยพิจารณาอย่างครอบคลุมจากประวัติการทำงาน ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ของ “บริษัท” และ “รายบุคคล” ของ
คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานในประเทศไทย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับการยื่นและขอใบอนุญาต-ทำงานให้กับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่หรือผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน บริษัทที่ส่งคนต่างด้าวมาประจำที่ประเทศไทยหรือบริษัทที่จ้างคนต่างด้าวใหม่ต้องระมัดระวังในข้อนี้ นอกจากนี้ยังมีบางสาขาอาชีพที่รัฐบาลไทยห้ามมิให้รับแรงงานต่างด้าวเข้าทำงานโดยเด็ดขาด


หลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ให้คนต่างด้าว (คัดลอกจากเอกสารของ JETRO ว่าด้วยระเบียบการออกใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าว พ.ศ.2547)

  • ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรด้านการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจและสังคม
  • การปกป้องมิให้คนต่างด้าวเข้ามาแย่งอาชีพที่คนไทยมีความรู้ความสามารถที่จะทำได้
    และมีอำนาจเพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานภายในราชอาณาจักร
  • ประโยชน์จากการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในตำแหน่งงานนั้นก่อให้เกิดการนำเงิน
    ตราต่างประเทศเข้ามาลงทุนหรือใช้จ่ายในประเทศจำนวนมากก่อให้เกิดการจ้างงานคนไทยจำนวนมาก หรือเป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญในวิทยาการสมัยที่เป็นประโยชน์
    ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และมีการถ่ายทอดให้คนไทย
  • การพัฒนาทักษะฝีมือที่คนไทยจะได้รับจากการที่คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ วิธีการ รายละเอียดที่เกี่ยวข้องของเครื่องจักร เครื่องมือ และความรู้ความชำนาญในงานวิจัยการสมัยใหม่ให้แก่คนไทยในงานนั้น
  • หลักมนุษยธรรม

วิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำในประเทศไทย (จำนวน 39 อาชีพ)

  1. งานใช้แรงงาน
  2. งานกสิกรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญงานเฉพาะสาขา หรืองานควบคุมดูแลฟาร์ม
  3. งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น
  4. งานแกะสลักไม้
  5. งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ
  6. งานขายของหน้าร้าน
  7. งานขายทอดตลาด
  8. งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการทางบัญชี ยกเว้นงานตรวจสอบภายในเป็นครั้งคราว
  9. งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย
  10. งานตัดผม หรืองานเสริมสวย
  11. งานทอผ้าด้วยมือ
  12. งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่
  13. งานทำกระดาษสาด้วยมือ
  14. งานทำเครื่องเงิน
  15. งานทำเครื่องดนตรีไทย
  16. งานทำเครื่องถม
  17. งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก
  18. งานทำเครื่องลงหิน
  19. งานทำตุ๊กตาไทย
  20. งานทำที่นอนหรือผ้าห่มนวม
  21. งานทำบาตร
  22. งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ
  23. งานทำพระพุทธรูป
  24. งานทำมีด
  25. งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า
  26. งานทำรองเท้า
  27. งานทำหมวก
  28. งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้นงานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
  29. งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ
    จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ
  30. งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบ เขียนแบบ ประมาณราคา
    อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ
  31. งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
  32. งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา
  33. งานมวนบุหรี่ด้วยมือ
  34. งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว
  35. งานเร่ขายสินค้า
  36. งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ
  37. งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
  38. งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ
  39. งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคด

หากท่านทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หรือทำงานในวิชาชีพที่ต้องห้าม ท่านจะได้รับโทษปรับ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือทั้งฝ่ายนายจ้างและฝ่ายที่ถูกจ้างต้องทำความเข้าใจถึง
กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นอย่างดี


■ ระยะเวลาการอนุญาตของใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

กรมแรงงานจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาการอนุญาตสำหรับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
โดยพิจารณาจากรายละเอียดในการยื่นขอ ตามปกติจะออกให้เป็นระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้อาจออกให้เป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี หรือ 2 ปีขึ้นอยู่กับรายละเอียด (สำหรับบริษัทที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขพิเศษ) อายุของใบอนุญาต-ทำงาน (Work Permit) ที่ออกให้และระยะเวลาของใบอนุญาตพำนัก (วีซ่า) นั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ท่านสามารถต่ออายุระยะเวลาการอนุญาตได้


■ การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

หลังจากได้รับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ควรจัดเตรียมเอกสารสำคัญประกอบการยื่นให้พร้อมตั้งแต่ปีถัดไป ใบอนุญาตทำงานสามารถต่ออายุในประเทศไทยได้ มีข้อควรระวังคือหากพ้น
วันหมดอายุไปแล้วจะต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงานใหม่อีกครั้ง


■ ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)และการควบตำแหน่งงาน

มีบางกรณีที่ควบตำแหน่งงานทั้งในบริษัทลูกและกลุ่มบริษัททั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลที่ทำหน้าที่รับชอบในบริษัท ในกรณีที่ควบตำแหน่งงาน ให้ยื่นขอใบอนุญาตทำงานของบริษัทหลักก่อนเป็นลำดับแรก
จากนั้นจึงยื่นขอใบอนุญาตสำหรับบริษัทที่จะควบตำแหน่ง (แบบคำขอ ตท.6) และหากได้รับ
การอนุญาต ใบอนุญาตดังกล่าวจะถูกระบุเพิ่มเติมลงในใบอนุญาตทำงานเดียวกันนี้ โปรดทราบว่าท่านอาจไม่ได้รับอนุญาตให้ควบตำแหน่งงาน สำหรับใบอนุญาตทำงานที่อยู่ภายใต้กรอบของการส่งเสริม-การลงทุน BOI


■ อื่น ๆ

กิจกรรมบางอย่างอาจได้รับการยกเว้นจากกรอบ “การทำงาน” ในประเทศไทย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดการทำงาน

  • ในกรณีที่มีระยะการทำงานไม่เกิน 15 วัน (ต้องยื่นขออนุญาตปฏิบัติงานเป็นการเร่งด่วนต่อกรมแรงงาน)
  • นอกจากนี้ ตามประกาศของกระทรวงแรงงานเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 แจ้งว่า 7 กิจกรรมต่อไปนี้ไม่ต้องยื่นหรือขอใบอนุญาตทำงาน
    1. การเข้าร่วมการประชุมและการสัมมนา
    2. การเข้าชมงานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้า
    3. การเข้าเยี่ยมชมธุรกิจหรือพบปะเจรจาธุรกิจที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างธุรกิจ
    4. การเข้ารับฟังบรรยายพิเศษและวิชาการ
    5. การเข้ารับฟังการบรรยายในการอบรมและสัมมนาทางด้านเทคนิค
    6. การซื้อสินค้าในงานแสดงสินค้า
    7. การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทของตน